สังคม Question Preview (ID: 55233)


1. นางสาวณิชญาณิน ธรรมคุณานนท์ เลขที่ 2 2. นางสาวธมกร สูงสว่าง เลขที่ 3 3. นางสาวนัยน์ปพร สมบัติชัยศักดิ์ เลขที่ 8 4. นางสาวรินรดา พูลเจริญ เลขที่ 19 5. นางสาวอริสรา สุริยาวงษ์ เลขที่ 25. TEACHERS: click here for quick copy question ID numbers.

ข้อใดจัดเป็นนโยบายการคลัง
a) การควบคุมอัตราดอกเบี้ย
b) การออกระเบียบข้อบังคับทางการเงิน
c) การควบคุมอัตราส่วนลด
d) การกำหนดรายรับรายจ่ายของรัฐบาล

ข้อใดจัดเป็นนโยบายการเงิน
a) การกำหนดรายรับรายจ่ายของรัฐบาล
b) การควบคุมการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
c) นโยบายแบบเกินดุล
d) นโยบายแบบขาดดุล

การบริหารการคลังที่เน้นให้รัฐบาลแทรกแซงกลไกราคา เป็นแนวคิดของใครหรือสำนักใด
a) John Maynard Keynes
b) Adam Smith
c) Monetarism
d) Neo-Classic

การบริหารการคลังในสมัยอดัม สมิธ มีลักษณะอย่างไร
a) พาณิชย์นิยม
b) ให้รัฐบาลมีบทบาทน้อยที่สุด ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกราคา
c) เน้นการล่าอาณานิคม
d) ให้รัฐบาลแทรกแซงกลไกราคา

ข้อใดเป็นสาเหตุการเกิดเงินเฟ้อด้านอุปทาน
a) ค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
b) ความต้องการกำไร
c) ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น
d) รายได้จากการค้าต่างประเทศ

ภาวะเงินเฟ้อก่อให้เกิดผลกระทบตามข้อใด
a) รัฐมีรายได้น้อยลง
b) ลูกหนี้เสียเปรียบ เจ้าหนี้ได้เปรียบ
c) ลูกหนี้ได้เปรียบ เจ้าหนี้เสียเปรียบ
d) อำนาจซื้อของผู้มีรายได้ประจำสูงขึ้น

หากปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีน้อยกว่าจำนวนสินค้าและบริการที่มีอยู่ใน ขณะนั้นจะเกิดอะไรขึ้น
a) ภาวะเงินตึง
b) ภาวะเงินฝืด
c) ภาวะเงินเฟ้อ
d) ภาวะเงินลอยตัว

บุคคลใดได้ประโยชน์จากภาวะเงินฝืด
a) ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย
b) รัฐบาล
c) นักธุรกิจ
d) พ่อค้าแม่ค้า

เพราะเหตุใดการลดอัตราภาษีอากรของประชาชนจึงช่วยให้ภาวะเงินฝืดบรรเทาลง
a) ปริมาณเงินสำรองในระบบเพิ่มขึ้น
b) นักธุรกิจสามารถกู้เงินเพิ่มขึ้น
c) ประชาชนมีรายได้เพื่อการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
d) สถาบันการเงินได้รับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น

ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของภาวะเงินฝืด
a) ธนาคารกลางควบคุมการปล่อยสินเชื่อมากเกินไป
b) ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรน้อยเกินไป
c) ประชาชนนิยมเก็บเงินออมไว้กับตัว
d) รัฐบาลยกเลิกการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า

ข้อใดเป็นการใช้นโยบายการคลังในการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ
a) เก็บภาษีเพิ่มขึ้น
b) ให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อลดลง
c) ออกพันธบัตรเพิ่มขึ้น
d) ธนาคารกลางลดปริมาณการหมุนเวียนเงินในตลาด

มาตรการใดมีส่วนช่วยแก้ปัญหาภาวะเงินฝืดของประเทศได้
a) ลดการขาดดุลทางการคลังให้น้อยลง
b) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
c) ให้ธนาคารกลางขายพันธบัตรมากขึ้น
d) ออกระเบียบให้เอกชนลดการกู้เงินจากต่างประเทศ

การศึกษาการบริหารคลังระดับมหภาคเน้นเรื่องอะไร
a) การบริหารนโยบายการคลังการเงิน
b) การจัดเก็บภาษีอากร
c) การบริหารงบประมาณแผ่นดิน
d) การบริหารหนี้สาธารณะ

ข้อใดเป็นตลาดการเงินในระบบ
a) การเล่นแชร์
b) บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์
c) การรับจำนอง
d) การกู้ยืมเงิน

หน่วยงานใดที่รัฐบาลมอบหมายให้ใช้นโยบายการเงิน
a) ธนาคารกรุงไทย
b) ธนาคารแห่งประเทศไทย
c) ธนาคารกรุงเทพ
d) ธนาคารออมสิน

นับแต่ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีมาถึงสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะต้องวิเคราะห์และพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เสร็จภายในกี่วัน
a) 60 วัน
b) 45 วัน
c) 105 วัน
d) 90 วัน

ข้อใดเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของนโยบายการเงิน
a) ควบคุมปริมาณเงินให้พอดีกับความต้องการของระบบเศรษฐกิจ
b) ควบคุมดุลการชำระเงินให้พอดีกับความต้องการของระบบเศรษฐกิจ
c) ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราให้พอดีกับความต้องการของระบบเศรษฐกิจ
d) ควบคุมระดับราคาสินค้าให้พอดีกับความต้องการระบบเศรษฐกิจ

นโยบายทางด้านการเงินนโยบายใดที่รัฐบาลสามารถนำมาใช้ในการเพิ่มลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจได้
a) การเพิ่มลดอัตราภาษีในระบบเศรษฐกิจ
b) การเพิ่มลดปริมาณการกู้ยืมจากต่างประเทศของรัฐบาล
c) การเพิ่มลดปริมาณการใช้จ่ายเงินในส่วนรัฐบาล
d) การเพิ่มลดปริมาณการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล

การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ประเภทใดที่จะได้รับดอกเบี้ยตอบแทนสูงที่สุด
a) เงินฝากกระแสรายวัน
b) เงินฝากออมทรัพย์
c) เงินฝากประจำ
d) เงินฝากอื่นๆ

รายได้ที่สำคัญของสถาบันการเงินมาจากแหล่งใด
a) ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
b) ส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก
c) การสนับสนุนจากรัฐบาล
d) เงินค่าธรรมเนียมต่างๆ

Play Games with the Questions above at ReviewGameZone.com
To play games using the questions from above, visit ReviewGameZone.com and enter game ID number: 55233 in the upper right hand corner or click here.

TEACHERS / EDUCATORS
Log In
| Sign Up / Register